ประวัติความเป็นมา ของเกี๊ยวซ่า
เกี๊ยวซ่า (จีนตัวย่อ : 饺子 ; จีนตัวเต็ม : 餃子 ; พ ินยิน : jiǎozi เจี่ยวจึ หรือ เจี่ยวจือ ; ญี่ปุ่น : 餃子, ギョーザ, ギョウザ gyōza เกียวซะ ) เป็นอา หารจีน ชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีห่อไส้ที่ทำจากเนื้อสัตว์ แผ่นแป้งเป็นแป้งสาลีไม่ใส่ผงฟูหรือยีสต์ นำมาห่อไส้หมูแล้วทอด เกี๊ยวซ่าในภาษาไทยมาจากภาษาญี่ปุ่น ว่าเกี๊ยวซ่า ญี่ปุ่นได้รับอาหารชนิดนี้มาจากชาวแมนจู ซึ่งนำไปทอดรับประทานเช่นกัน ชาวจีนทางเหนือรับอาหารชนิดมาจากชาวแมนจูเช่นกัน เรียกว่าเจี่ยวจือ นำมาต้มแล้วกินกับน้ำซุป อาหารชนิดนี้เป็นคนละชนิดกับเกี๊ยว ซึ่งคนไทยจะเรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งจะตรงกับอาหารจีนกวางตุ้ง ที่เรียกหุนทุน เกี๊ยวซ่าทำจากแป้งที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี ไข่ น้ำแล้วเกลือ นวดให้เข้ากันแล้วตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ใส่ใส้ตรงกลางกลางแล้วห่อให้เป็นรูปร่างตามต้องการ ไส้ที่นิยมคือหมูบดและกุ้งบด โดยผสมแป้งเล็กน้อยเพื่อช่วยให้ยึดกันดี ปรุงรสด้วยเกลือ เครื่องเทศ ใส่กระเทียมหรือต้นหอมสับ ทำให้สุกโดยการนึ่ง หรือ ทอด แบบญี่ปุ่น คำภาษาญี่ปุ่น เกี๊ยวซ่า gyōza (ギョーザ, ギョウザ) มาจากเสียงอ่านของคำว่า 餃子 ของสำเนียงภาษาจีนในชานตง