ประวัติความเป็นมา ของเกี๊ยวซ่า
เกี๊ยวซ่า (จีนตัวย่อ: 饺子; จีนตัวเต็ม: 餃子; พินยิน: jiǎozi เจี่ยวจึ หรือ เจี่ยวจือ; ญี่ปุ่น: 餃子, ギョーザ, ギョウザ gyōza เกียวซะ) เป็นอาหารจีนชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีห่อไส้ที่ทำจากเนื้อสัตว์ แผ่นแป้งเป็นแป้งสาลีไม่ใส่ผงฟูหรือยีสต์ นำมาห่อไส้หมูแล้วทอด เกี๊ยวซ่าในภาษาไทยมาจากภาษาญี่ปุ่นว่าเกี๊ยวซ่า ญี่ปุ่นได้รับอาหารชนิดนี้มาจากชาวแมนจู ซึ่งนำไปทอดรับประทานเช่นกัน ชาวจีนทางเหนือรับอาหารชนิดมาจากชาวแมนจูเช่นกัน เรียกว่าเจี่ยวจือ นำมาต้มแล้วกินกับน้ำซุป อาหารชนิดนี้เป็นคนละชนิดกับเกี๊ยวซึ่งคนไทยจะเรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งจะตรงกับอาหารจีนกวางตุ้งที่เรียกหุนทุน เกี๊ยวซ่าทำจากแป้งที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี ไข่ น้ำแล้วเกลือ นวดให้เข้ากันแล้วตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ใส่ใส้ตรงกลางกลางแล้วห่อให้เป็นรูปร่างตามต้องการ ไส้ที่นิยมคือหมูบดและกุ้งบด โดยผสมแป้งเล็กน้อยเพื่อช่วยให้ยึดกันดี ปรุงรสด้วยเกลือ เครื่องเทศ ใส่กระเทียมหรือต้นหอมสับ ทำให้สุกโดยการนึ่ง หรือ ทอด
แบบญี่ปุ่น
คำภาษาญี่ปุ่น เกี๊ยวซ่า gyōza (ギョーザ, ギョウザ) มาจากเสียงอ่านของคำว่า 餃子 ของสำเนียงภาษาจีนในชานตง และเขียนด้วยอักษรจีนตัวเดียวกัน ความแตกต่างสำคัญระหว่างเกียวซาของญี่ปุ่นกับเจียวจือของจีนคือ แบบญี่ปุ่นใส่กระเทียมมากกว่า กิบเกลือและซีอิ๊ว แป้งเกี๊ยวซาบางกว่า ไส้ใส่หมูบดผสมกับกะหล่ำปลี น้ำมันงา และกระเทียม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น