ใครบอกเกี๊ยวซ่ามีแต่ที่เอเชีย ยุโรปก็มีเกี๊ยวซ่า

1. เกี๊ยวในแถบเอเชียตะวันออกไกล (เอเชียตะวันออก)

รูปแบบของเกี๊ยวซ่าในแบบฉบับของแต่ละประเทศ มักจะมีลูกเล่นเล็กๆน้อยๆซ่อนอยู่ ซึ่งบ่งบอกถึงภูมิปัญญาและรสนิยมท้องถิ่นได้ดีทีเดียว

Image result for korean gyoza


เริ่มต้นกันที่ประเทศเกาหลี

พวกเขาเรียกอาหารจำพวกเกี๊ยวว่า มานดู สิ่งที่แตกต่างนั้นมีทั้งไส้ที่ใส่และรูปแบบการปั้น ชาวเกาหลีมักจะทำเป็นก้อนกลมคล้ายๆซาลาเปาลูกเล็กๆ และแน่นอน เมื่อพูดถึงเกาหลีคงขาดสิ่งนี้ไม่ได้ มานดูนั้นยัดไส้กิมจิและมักจะนำไปทอดไฟอ่อนๆเพื่อกินกับเหล้า
Image result for mongolian buuz

ทางฝั่งเชื้อสายนักรบบนหลังม้าอย่างมองโกเลีย

ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ รายได้หลักของประเทศคือปศุสัตว์ วัตถุดิบที่ใช้ทำนั้นจึงเต็มไปด้วยเนื้อแกะ เนื้อม้าและลูกวัว หรือก็คือสัตว์ในฟาร์มนั่นเอง พวกเขาเรียกเกี๊ยวว่า บุซ มักจะปั้นแบบเผยอหัวเล็กน้อยไม่ปิดสนิท นิยมทั้งแบบทอดและนึ่ง ข้อดีของการปั้นแบบนี้ก็คือพวกเขาจะสามารถเก็บไว้เป็นเสบียงไว้ได้เมื่อหน้าหนาวมาเยือนทุ่งหญ้าอันแสนเวิ้งว้าง

สำหรับเจ้าตำรับอย่างชาวจีนนั้น

พวกเขาจะนำเกี๊ยวไปต้มและรับประทานเป็นซุบแทน นอกจากนี้ ในวาระสำคัญต่างๆ ชาวจีนจะใส่ไส้มงคงเพื่อสื่อความหมายดีๆ เช่น ถั่วเพื่ออายุยืนในวันปีใหม่ หรือน้ำผึ้งในงานแต่งเพื่อชีวิตคู่ที่หอมหวาน

2. เกี๊ยวในแบบของชาวยุโรป

นอกจากกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกไกลซึ่งนับได้ว่าเป็นเครือญาติกันกับจีน ก็ยังมีประเทศในแถบยุโรปใต้และบอลติกซึ่งมีกรรมวิธีการปรุงอาหารคล้ายๆเกี๊ยวอย่างน่าอัศจรรย์ ถึงแม้จะมีเครื่องปรุงและการปรุงแตกต่างออกไปมาก แต่ลักษณะอาหารที่เป็นแผ่นแป้งห่อยัดไส้เนื้อสัตว์ก็ทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่าอาจจะมีรากฐานมากจากจุดเดียวกัน
Image result for ravioli

ราวิโอลี่ของอิตาเลียน

ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นพาสต้า หน้าตาและการทำกลับละม้ายเกี๊ยวอย่างช่วยไม่ได้ จุดเด่นของราวิโอลี่คือแป้งซึ่งผสมไข่ ปั้นเป็นก้อนและคลี่ออก ก่อนจะจับเป็นจีบเหมือนกับเกี๊ยว ไส้ที่นิยมใช้เป็นหลักคือชีสนมแพะ (แต่ชาวอิตาเลี่ยนบอกว่าชอบอะไรก็ใส่ไปเถอะ) อีกจุดหนึ่งที่แตกต่างในการกินของอาหารชนิดนี้ก็คือ ชาวอิตาเลี่ยนจะราดซอสรากูซึ่งมีส่วนผสมของเนื้อสับและมะเขือเทศเคี่ยวจนกลายเป็นลูกผสมก้ำกึ่งระหว่างซุปและซอส
Image result for pierogi


เปลมินี่ของรัสเซียและเปโรกิของโปแลนด์

สำหรับประเทศพี่ใหญ่ทางตอนเหนือของจีนแบบนี้ ถ้าไม่มีอาหารที่หน้าตาใกล้เคียงกันซักหน่อยก็คงจะเป็นเรื่องแปลก ชาวหมีขาวมีอาหารที่ทำจากแป้งปั่นใส่ไส้เช่นกัน โดยพวกเขาเรียกมันว่า เปลเมนี่ (Pelmeni) ซึ่งก็คืออันเดียวกันกับเกี๊ยวของชาวโปแลนด์ที่เรียกว่า เปโรกิ (Perogi)  เวลาเสิร์ฟ ชาวรัสเซียนและโปลิชจะผัดให้สีเหลืองนวลก่อนจะกินคู่กับซาวครีมที่โรยต้นหอมไว้ด้วย
Image result for pelmeni

3. เกี๊ยวซ่าในวัฒนธรรมอื่นๆทั่วโลก

นอกจากนี้แล้ว ยังมีอาหารที่มีการปรุงคล้ายๆกันอย่างไม่น่าเชื่อ และถึงแม้ว่าคงบอกไม่ได้แน่นอนว่าพวกมันจะมีอิทธิพลหรือไม่ และอาจเป็นประเด็นให้ถกเถียงได้ไม่รู้จบ

ยุโรปกลางและตะวันออก

ชาวยุโรปภาคพื้นทวีปเรียกอาหารบดละเอียดแล้วห่อแป้งว่า คนอร์เดล (Knödel) จุดที่น่าสนใจก็คือถึงแม้จะมีจุดกำเนิดคล้ายๆกัน เจ้าคนอร์เดลกลับมีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย แม้แต่ในกลุ่มประเทศที่ใกล้เคียงกันอย่าง เช็ค บัลแกเรีย หรือฮังการี  เพราะมีทั้งแบบที่ปั้นเสร็จแล้วต้มใส่ซุป หรือผึ่งแดดให้แห้งสนิทแล้วทอดกรอบ มีกระทั่งปั้นเสร็จแล้วเคี่ยวให้เป็นซอสด้วย เรียกว่าแล้วแต่ฝีมือและปากใครปากมันจริงๆ
Image result for empanada

อเมริกาใต้

น่าแปลกใจจริงๆที่อาหารซึ่งมีวิธีการทำอันเป็นเอกลักษณ์จะเดินทางไปได้ไกลแสนไกลจนถึงอีกซีกโลกอย่างอเมริกาใต้ได้ อาจจะยิ่งน่าตะลึงกว่าเดิมถ้าผมจะบอกว่าสำหรับเจ้าเอมพานาด้า (Empanada) ของชาวละตินอเมริกานั้นหน้าตาละม้ายคล้ายกับเกี๊ยวซ่าที่เราคุ้นๆกันมากกว่าของชาวยุโรปเสียอีก สันนิษฐานว่าอาหารจานนี้ถูกนำมาเผยแพร่เมื่อครั้งจักรวรรดิสเปนยังเรืองอำนาจในดินแดนแถบนี้ ข้อแตกต่างสำหรับอาหารจานนี้ก็คือชาวอเมริกาใต้จะรับประทานคู่กับซัลซ่ามะเขือเทศและโรยด้วยพริกปาปริก้ารสจัดด้วยนั่นเอง

และอันดับสุดท้ายที่คนกล่าวถึงมากที่สุด ญี่ปุ่น


Image result for gyoza

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม